การเริ่มต้นธุรกิจอาจท้าทาย แต่การพัฒนาและรักษาธุรกิจให้ยั่งยืนภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีการแข่งขันสูงนั้นยิ่งยากขึ้น ในปัจจุบัน การแข่งขันทั้งในระดับท้องถิ่นและสากลบีบให้ธุรกิจต้องพัฒนาและปรับตัวอย่างรวดเร็ว ทั้งด้านเทคโนโลยี ความต้องการของผู้บริโภค และปัจจัยเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ธุรกิจจึงจำเป็นต้องขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI เพื่อสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขันและเพิ่มโอกาสในการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รวมถึงสร้างคุณค่าเพิ่มแก่ผลิตภัณฑ์ และได้สิทธิประโยชน์ ต่างๆ เช่น ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก และอื่นๆ เป็นต้น

เราเป็นตัวแทนอำนวยความสะดวกสำหรับบริษัทที่ต้องการยื่นเอกสารขอรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปี
เรามีความรู้เฉพาะด้านเกี่ยวกับการดำเนินการขอส่งเสริมการลงทุนด้วยทีมงานมืออาชีพที่มีประสบการณ์ทั้งเรื่องกฎระเบียบข้อกำหนดทางกฎหมาย

ยกระดับการลงทุน พร้อมรับสิทธิประโยชน์จาก BOI ครบทุกด้าน
ในกรณีที่ท่านมีแผนจะดำเนินการลงทุนในกิจการที่เข้าข่ายได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) พึงทราบว่า ประเภทกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมได้ส่วนใหญ่นั้น มีการกำหนดคุณสมบัติ เงื่อนไขเฉพาะ ตลอดจนขนาดของโครงการไว้อย่างชัดเจนตามที่ระบุไว้ในประกาศและแนวปฏิบัติของทางราชการ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการควรศึกษาและพิจารณารายละเอียดอย่างถี่ถ้วน เพื่อให้การยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนเป็นไปโดยถูกต้อง ครบถ้วน และสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนดไว้
บริษัทของเราซึ่งมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการให้คำปรึกษาด้านการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI พร้อมให้บริการอย่างครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนการวิเคราะห์คุณสมบัติของโครงการ การจัดเตรียมเอกสารประกอบคำขอ การให้คำแนะนำเชิงลึกในแต่ละขั้นตอน ตลอดจนการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โครงการของท่านสามารถขอรับการส่งเสริมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบของกฎหมายและนโยบายภาครัฐอย่างเคร่งครัด
✅ วิเคราะห์สิทธิประโยชน์ BOI ที่คุณมีสิทธิได้รับ
✅ ช่วย “จดทะเบียน BOI” พร้อมยื่นขอแบบครบวงจร
✅ รับดำเนินการ “ขั้นตอน BOI” ทั้งหมด – ตั้งแต่จัดทำเอกสารจนถึงได้รับ “บัตรส่งเสริมการลงทุน”
✅ ประสานงานกับ BOI โดยตรงแทนคุณ
✅ ให้คำปรึกษาพร้อมทีมผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน


การขอ BOI มีประโยชน์กับการพัฒนาธุรกิจอย่างไร
บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดย BOI จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจมากมาย
4 สิทธิประโยชน์ที่ให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ที่เกี่ยวกับภาษี
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเบื้องต้นสูงสุด 8 ปี และกรณีพิเศษสุงสุดถึง 13 ปี (ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขที่กำหนด)
- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก
- ยกเว้นภาษีขาเข้าของที่นำมาใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนา
นอกจากนั้นยังมีสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ได้แก่
✅ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 1-3 ปี (ขึ้นอยู่กับสัดส่วนการลงทุน) ให้กับกิจการที่ลงทุนในกิจกรรมทั้ง 6 ด้าน ดังนี้
- การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม
- การบริจาคให้กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรสถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง สถาบันวิจัยและพัฒนา หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย
- ค่าธรรมเนียมในการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาในประเทศ
- การฝึกอบรมเทคโนโลยีขั้นสูง
- การพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง
- การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์
✅ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่ม 1 ปี สำหรับการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรม
✅ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเป็นเวลา 3 ปี, ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี, หักค่า ใช้จ่ายค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปาได้ 2 เท่า เป็นเวลา 10 ปี และ หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างได้ 25% ของเงินลุงทุน สำหรับกิจการที่อยู่ในจังหวัดที่มีรายได้ต่ำที่สุด 20 จังหวัด (สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับขึ้นอยู่กับประเภทของกิจการ)
4 สิทธิประโยชน์อื่นที่อนุญาตให้ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งไม่เกี่ยวกับภาษี
- อนุญาตให้ชาวต่างชาติถือหุ้น 100%
- อนุญาตให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- อนุญาตให้ส่งออกเงินตราต่างประเทศ
- อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการจากต่างประเทศเข้ามาทำงานในไทยได้
3 ขั้นตอน การขอส่งสริมการลงทุน BOI
- ให้ข้อมูลรายละเอียดโครงการ รูปแบบเอกสาร
- ให้ข้อมูลรายละเอียดโครงการ รูปแบบการสัมภาษณ์
- ให้ข้อมูลรายละเอียดขอออกบัตรส่งเสริม รูปแบบเอกสาร
การขอใช้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
(บริษัทจะต้องยื่นใช้สิทธิในปีที่ผลประกอบการมีกำไร ภายใน 120 วันนับแต่วันที่สิ้นรอบบัญชี)
เนื่องจากการให้สิทธิและประโยชน์ด้านภาษีอากรต้องดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตรวจสอบได้ว่าการใช้สิทธิและประโยชน์มีความถูกต้องและสอดคล้องกับเงื่อนไขการให้การส่งเสริม และสามารถประเมินความคุ้มค่าของการส่งเสริมการลงทุนได้อย่างชัดเจน สำนักงานส่งเสริมการลงทุนจึงกำหนดให้บริษัทผู้ได้รับการส่งเสริมต้องรายงานผลการดำเนินงานของโครงการต่อสำนักงาน BOI เพื่อให้สำนักงานได้มีการตรวจสอบ ก่อนการพิจารณาอนุญาตให้ใช้สิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในปีนั้นๆ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ
ที่สำนักงานกำหนด
หลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติ
คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติสำหรับโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ดังนี้
1. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีหนึ่ง ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน
2. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีสอง และบัญชีสาม ท้ายพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
3. เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการอาจกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นการเฉพาะสำหรับกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนบางประเภท
หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ
1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.1 ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้
1.2 ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย
1.3 ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ หากเป็นกรณีใช้เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ ซึ่งแบ่งหลักเกณฑ์การพิจารณาเป็น 3 กรณี
1.4 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000
1.5 ฯลฯ
2.การป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2.1 ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
2.2 กรณีกิจการใดที่มีรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมต่อเนื่อง ที่อยู่ในข่ายตามประเภทและขนาดโครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
2.3 โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.1/2554 เรื่อง นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2554
3. เงินลงทุนขั้นต่ำและความเป็นไปได้ของโครงการ
3.1 ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
3.2 ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี
3.3 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 750 ล้านบาท ต้องเสนอรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด
- วิเคราะห์ธุรกิจและประเมินความเป็นไปได้ในการ ขอรับการส่งเสริมการลงทุน
- เตรียมแบบฟอร์มคำขอ / เอกสารการลงทุน / แบบแปลนโรงงาน / ข้อมูลวัตถุดิบ
- ดำเนินการยื่นคำขอ BOI
- ประสานงานและร่วมประชุมกับเจ้าหน้าที่ BOI
- ติดตามสถานะและแจ้งผลเป็นระยะ
- ยื่นขอรับ “บัตรส่งเสริม” พร้อมช่วยจัดทำ Master List และขอสิทธิภาษี
- เคยดำเนินการให้ลูกค้ากว่า 300+ บริษัท
- ประสบการณ์จริง
- เอกสารพร้อม – ทำงานไว – เน้นผลลัพธ์

รากฐานของการบริการของเรา คือ มอบความสะดวกสบายให้ธุรกิจของคุณด้วยการบริการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามกฎหมายทั้งหมด พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ทีมงานของเราจะคอยดูแลคุณในทุกขั้นตอนเพื่อให้กระบวนการทุกอย่างราบรื่นและผ่านไปได้ด้วยดี
เรายังให้คำแนะนำอย่างมืออาชีพและให้คำปรึกษาครอบคลุมทุกอย่างตั้งแต่การเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด การกรอกเอกสาร ตรวจสอบความถูกต้องก่อนยื่นเอกสารไปยังหน่วยงาน